ข่าวด่วน 
รับสอนอเมริกัน อิงลิช  -  รับสอนภาษาไทยให้กับชาวต่างชาติและลูกครึ่ง   -  เชี่ยวชาญการว่าความให้ชาวต่างชาติ  -  รับสอนเทนนิส
           *สุดยอดเส้นทางลัด ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อการศึกษา,อาชีพ-การงาน, ธุรกิจ-การค้า,เพื่อสาระและบันเทิง
             
- ท่านจะหัวเราะ จนเหงือกและฟันหลุดกระเด็น!!
             - เพิ่มพูนความรู้ เอิ๊กอ๊ากตัวงอ ชะลอความแก่
(คลิกที่นี่)
<The Funtastic Way to Learn English>
 อัพเดททุกวัน มันส์ทะลุโลก
    เว็บสอนภาษา ที่ให้มากกว่าการสอนภาษา  .............    
 

  ศาลอาญาระหว่างประเทศ :: ICC

             
ศาลอาญาระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Criminal Court (ย่อ: ICC); ฝรั่งเศส: Cour P?nale Internationale) เป็น ศาลสถิตยุติธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตาม ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545[1] โดยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 เป็นต้นมา มีรัฐชาติหนึ่งร้อยสิบสี่รัฐเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรม[2][3][4] อีกสามสิบสี่รัฐ ซึ่งรวมถึง ประเทศรัสเซีย ได้ลงลายมือชื่อในธรรมนูญกรุงโรมดังกล่าวแล้ว แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน[2] สหรัฐอเมริกาลงลายมือชื่อในปี 2543 แล้วบอกถอนเสียในสองปีให้หลัง[5] อีกหลายรัฐซึ่งรวมถึงสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศอินเดียติเตียนเรื่องการจัดตั้งศาลนี้เป็นอันมาก ทั้งไม่ยอมทั้งลงลายมือชื่อและให้สัตยาบันแก่ธรรมนูญกรุงโรม

ศาลอาญาระหว่างประเทศมีบัลลังก์อยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา ณ แห่งหนตำบลใดก็ได้ทั้งสิ้น[6] และธรรมนูญกรุงโรมให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจชำระคดีเฉพาะที่เป็นไปตามธรรมนูญเท่านั้น ข้อมูลทางสถิติตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ปรากฏว่า มีคำกล่าวโทษถึงร้อยละแปดสิบถูกยก เพราะยื่นมาโดยที่ไม่อยู่ในอำนาจศาล[7]


การจะเข้า ICC ต้องแก้กฏหมายอาญาของเราเสียก่อนเขาถึงจะยอมรับ

ของประเทศไทย ตามสนธิสัญญากรุงโรม เราต้องแก้ไขกฏหมายอาญา

ที่ไม่เป็นธรรม ก่อนครับ

- - - - - - - - - - -

ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
ธรรมนูญกรุงโรม
ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
 
พิธีประเดิมการลงชื่อในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี วันที่ 18 กรกฎาคม 2541
ประเภท สนธิสัญญา
วันร่าง 17 กรกฎาคม 2541
วันลงนาม
- ณ
17 กรกฎาคม 2541[1]กรุงโรม[1]
วันใช้บังคับ 1 กรกฎาคม 2545[2]
ผู้ลงนาม 139 รัฐ[2]
ภาคี 108 รัฐ[2]
ผู้เก็บรักษา เลขาธิการสหประชาชาติ[1]
ภาษา จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย
สเปน อารบิก อังกฤษ[3]
เว็บไซต์ Un.org

      ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (อังกฤษ: Rome Statute of the International Criminal Court) หรือเรียกโดยย่อว่า ธรรมนูญกรุงโรม (Rome Statute) เป็นสนธิสัญญาซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นการจัดตั้งและจัดเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ธรรมนูญนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐต่าง ๆ ณ การประชุมทางการทูตที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541[4][5] และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545[2] โดยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปรากฏว่า มีรัฐเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญนี้แล้วจำนวนหนึ่งร้อยแปดราย[2]

ประวัติ[แก้]

หลังจากที่มีการเจรจาตกลงกันมาแล้วหลายปี เพื่อจัดตั้งคณะตุลาการระหว่างประเทศเป็นการถาวร มีหน้าที่พิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดร้ายแรงและมีผลกระทบต่อหลายประเทศ เช่น การล้างชาติ สมัชชาสหประชาชาติจึงจัดการประชุมทางการทูตเพื่อจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (United Nations Diplomatic Conference of Plenipotentiaries on the Establishment of an International Criminal Court) ขึ้นที่กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน ถึง 17 กรกฎาคม 2541 ในวันสุดท้ายของการประชุม ที่ประชุมได้รับรอง "ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ" ด้วยมติหนึ่งร้อยยี่สิบเสียงต่อเจ็ดเสียง ทั้งนี้ มีรัฐยี่สิบเอ็ดรายงดออกเสียง[6][7][4] รัฐเจ็ดรายที่ไม่เห็นชอบกับธรรมนูญกรุงโรม ได้แก่ อิรัก อิสราเอล ลิเบีย จีน กาตาร์ สหรัฐอเมริกา และเยเมน[4]

ธรรมนูญกรุงโรม ข้อ 126 วรรค 1 ว่า "ธรรมนูญนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันแรกของเดือนถัดจากวันที่หกสิบหลังจากวันที่มีการยื่นสัตยาบันสาร สารให้ความยอมรับ สารให้ความเห็นชอบ หรือภาคยานุวัติสารฉบับที่หกสิบต่อเลขาธิการสหประชาชาติ" แสดงถึงเงื่อนไขว่า เมื่อมีรัฐให้ความเห็นชอบและเข้าเป็นภาคีแห่งธรรมนูญนี้ครบหกสิบรายแล้ว ก็ใช้ธรรมนูญบังคับได้[8] ในการนี้ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 รัฐสิบรายได้ยื่นหนังสือแจ้งสหประชาชาติแสดงความเห็นชอบในธรรมนูญนี้พร้อมกัน โดยได้ยื่นในการประชุมนัดวิสามัญซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก[9] ส่งผลให้ใช้ธรรมนูญบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545[9] ส่วนศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นมีอำนาจชำระความผิดทั้งหลายที่เกิดขึ้นในหรือตั้งแต่วันเริ่มใช้ธรรมนูญสืบไป[10]

ประเทศไทย[แก้]

ประเทศไทยเป็นรัฐหนึ่งที่ลงมติสนับสนุนธรรมนูญกรุงโรมในการประชุมดังกล่าว และได้ร่วมลงนามธรรมนูญกรุงโรมเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2543 แต่ยังมิได้ให้สัตยาบันจนถึงขณะนี้ เนื่องจากต้องพิจารณาตามขั้นตอนที่กฎหมายในประเทศกำหนดไว้ก่อน คณะรัฐมนตรีไทยได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 แต่งตั้ง "คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ" ขึ้นตามที่กระทรวงต่างประเทศเสนอ มีหน้าที่พิจารณาผลดีและผลเสียของการเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญ ตลอดจดพิจารณาว่าต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่หรือไม่อย่างไร รวมทั้งดำเนินการต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น เผยแพร่เนื้อหาสาระของธรรมนูญให้แก่สาธารณชน

วันที่ 1 มิถุนายน 2542 คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศมีคำสั่งแต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการแปลธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ" ขึ้น ประกอบด้วยกรรมการสิบคน เป็นผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ คือ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานศาลยุติธรรม, สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่แปลธรรมนูญกรุงโรมเป็นภาษาไทย ใช้เวลาสองปีจึงแปลเสร็จในวันที่ 14 มิถุนายน 2544

เนื่องจากธรรมนูญกรุงโรม ข้อ 27 กำหนดว่า ให้ใช้ธรรมนูญบังคับแก่บุคคลทุกคนอย่างเสมอหน้ากัน และไม่มีใครจะอ้างอำนาจหน้าที่ทางราชการ โดยเฉพาะในฐานะประมุขแห่งรัฐ มาคุ้มกันตนให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้เลย[11] รัฐบาลไทยจึงไม่ยอมให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม เพราะ ข้อ 27 ดังกล่าวจะมีผลให้พระมหากษัตริย์ไทยอ้างความคุ้มกันตามกฎหมายไทยมิได้ เช่น ความคุ้มกันที่ให้ไว้ในมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นต้น[12]

มีหลายฝ่ายเรียกร้องให้ประเทศไทยให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม โดยในเดือนพฤศจิกายน 2549 ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันสำหรับธรรมนูญกรุงโรมเสียที เขาให้เหตุผลว่า หากประเทศไทยให้สัตยาบันแล้ว พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อาจถูกสอบสวนโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ สำหรับความผิดต่อมนุษยชาติ ในกรณีที่สั่งให้กระทำวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจำนวนสองพันห้าร้อยคนโดยมิได้สอบสวนเสียก่อนในช่วงปี 2546 เพื่อมิให้สืบสาวไปถึงผู้บงการที่อยู่เบื้องหลังซึ่งอาจเป็นบุคคลสำคัญในแวดวงสังคม ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "การฆ่าตัดตอน" ได้[13]

สถานะการให้สัตยาบัน[แก้]


  ลงนามและให้สัตยาบันแล้ว
  ลงนามแต่ไม่ให้สัตยาบัน
  ไม่มีบทบาททั้งสิ้น

ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 ปรากฏว่า มีรัฐจำนวนหนึ่งร้อยแปดรายเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรม ได้แก่ รัฐเกือบทั้งหมดในยุโรป รัฐทั้งหมดในอเมริกาใต้ และรัฐเกือบกึ่งหนึ่งของแอฟริกา[2][14][15]

นับแต่จัดการประชุมทางการทูตเพื่อจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงโรมในปี 2541 เป็นต้นมา ปรากฏว่า มีรัฐอีกสี่สิบกว่ารายที่ลงนามในธรรมนูญแล้ว แต่ยังมิได้ยื่นสัตยาบันสาร สารให้ความยอมรับ สารให้ความเห็นชอบ หรือภาคยานุวัติสาร[2] อนุสัญญาสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎแห่งสนธิสัญญาบัญญัติให้รัฐเหล่านี้ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของธรรมนูญกรุงโรม[16] ต่อมาในปี 2545 รัฐสองรายในบรรดารัฐทั้งสี่สิบดังกล่าว คือ สหรัฐอเมริกา และอิสราเอล ได้ถอนการลงนามเสีย และประกาศว่า ไม่ต้องการเป็นรัฐภาคีในธรรมนูญกรุงโรมอีกต่อไป[2][17][18]

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในรัฐสี่สิบรายดังกล่าวที่ลงนามแล้ว แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน

การทบทวนและการแก้ไขเพิ่มเติม[แก้]

การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญกรุงโรม กระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบด้วยมติไม่น้อยกว่าสองในสามของรัฐภาคีทั้งหมดของธรรมนูญ และจะไม่มีผลใช้บังคับ จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบด้วยมติไม่น้อยกว่าเจ็ดในแปดของรัฐภาคีทั้งหมด[19] ทั้งนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชีความผิดที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ จะมีผลใช้บังคับแก่รัฐภาคีที่เห็นชอบด้วยในการแก้ไขนี้เท่านั้น[19]

รัฐภาคีมีหน้าที่เข้าร่วมการประชุมทบทวนธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ (Review Conference of the International Criminal Court Statute) ตามที่ตกลงกันให้จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2553[20] ในการประชุมนี้ มีการให้ความเห็นชอบบทนิยามเกี่ยวกับความผิดว่าด้วยการรุกราน เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิพากษาคดีความผิดดังกล่าวได้เป็นครั้งแรก

- - - - - - - - -- -

ภาพรวม[แก้]

ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น อยู่ในความควบคุมของ "สมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรม" (Assembly of States Parties to the Rome Statute)[8]

ส่วนตัวศาลเองนั้น แบ่งองค์กรเป็นสี่ฝ่าย คือ คณะประธาน (Presidency), แผนกตุลาการ (Judicial Divisions), สำนักงานอัยการ (Office of the Prosecutor) และสำนักทะเบียน (Registry)[9]

สมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรม[แก้]

สมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Assembly of the States Parties to the Rome Statute of the International Criminal Court) เป็นองค์กรด้านบริหารและนิติบัญญัติของศาล ประกอบด้วย ผู้แทนคนหนึ่งจากแต่ละรัฐภาคีรัฐหนึ่ง[10] รัฐภาคีหนึ่ง ๆ มีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ในเบื้องต้น ทุก ๆ รัฐภาคีต้องใช้ "ความพยายามทุกวิถีทาง" (every effort)

ในอันที่จะให้การวินิจฉัยของสมัชชาเป็นไปโดยเอกฉันท์ (consensus)[10] ถ้าไม่ได้เอกฉันท์ การวินิจฉัยเรื่องนั้นจะกระทำกันโดยคะแนนเสียงข้างมาก[10]

สมัชชานั้นประชุมสามัญกันเต็มคณะปีละหนึ่งครั้งที่นครนิวยอร์ก หรือบางทีก็ที่กรุงเฮก และจะให้มีการประชุมวิสามัญก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์อำนวย[10] ในการประชุมแต่ละครั้ง ประธานหนึ่งคน และรองประธานอีกสองคนของสมัชชา ซึ่งได้รับเลือกมาจากสมาชิกของสมัชชาให้ดำรงตำแหน่งคราละสามปี จะเป็นประธานที่ประชุม การประชุมนั้นเปิดให้รัฐผู้สังเกตการณ์และองค์การเอกชนทั้งหลายเข้าร่วมด้วยได้[11]

สมัชชาจะเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตุลาการและอัยการ, กำหนดงบประมาณของศาล, ตกลงรับบทกฎหมายสำคัญ ๆ เช่น ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณาความและพยานหลักฐาน (Rules of Procedure and Evidence), และกำกับดูแลองค์กรอื่น ๆ ของศาลด้วย[8][10] ข้อ 46 ของธรรมนูญกรุงโรมยังให้อำนาจสมัชชาถอดถอนตุลาการหรืออัยการได้ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีความประพฤติเสื่อมเสียร้ายแรง หรือละเลยหน้าที่ของตนอย่างร้ายแรง หรือไม่สามารถปฏิบัติการหน้าที่ตามธรรมนูญกรุงโรมได้[12]

แต่สมัชชาก็ดี หรือรัฐภาคีก็ดี หาอาจจะสอดแทรกการหน้าที่ทางตุลาการของศาลได้ไม่ การวินิจฉัยอรรถคดีนั้นย่อมเป็นกิจของศาลโดยแท้[13]

ในการประชุมสมัชชาครั้งที่เจ็ดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 สมัชชาได้กำหนดให้มีการประชุมทบทวนธรรมนูญกรุงโรมขึ้น ณ เมืองกัมปาลา ประเทศอูกันดา ราว ๆ ต้นปี 2553[13]

คณะประธาน[แก้]

คณะประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ (Presidency of the International Criminal Court) เป็นองค์กรด้านบริหารศาลแต่ไม่รวมถึงการบริหารสำนักงานอัยการของศาล[14] โดยประกอบด้วย ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ (President of the International Criminal Court) และรองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ คนที่หนึ่ง และคนที่สอง (First and Second Vice-Presidents of the International Criminal Court) ทั้งสามคนนี้ได้รับเลือกตั้งโดยตุลาการที่เหลือ มีวาระดำรงตำแหน่งคราละสามปี[15]

ประธานศาลคนปัจจุบัน คือ ซง ซัง-ฮยุน (Song Sang-Hyun) ได้รับเลือกตั้งมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2552[16]

แผนกตุลาการ[แก้]

ตุลาการศาลอาญาระหว่างประเทศ (judges of the International Criminal Court) มีทั้งหมดสิบแปดคน ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งแบ่งกันเป็นสามแผนก (Division) คือ แผนกพิจารณาเบื้องต้น (Pre-Trial Division), แผนกพิจารณา (Trial Division) และแผนกอุทธรณ์ (Appeals Division)[17]

เป็นอำนาจของสมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมในอันที่จะเลือกตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลอาญาระหว่างประเทศ ตุลาการแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งเก้าปี และได้เพียงวาระเดียวเท่านั้น[17] คุณสมบัติของผู้จะเป็นตุลาการ คือ ต้องมีสัญชาติของรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรม และในบรรดาตุลาการทั้งสิบแปดคนนั้น ห้ามมีสัญชาติซ้ำกันเลย นอกจากนี้ ข้อ 36 แห่งธรรมนูญกรุงโรมยังกำหนดว่า ตุลาการต้องเป็น "บุคคลผู้พร้อมด้วยจริยลักษณะอันสูง ความเป็นกลาง และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งมีคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับแต่งตั้งข้าราชการตุลาการชั้นผู้ใหญ่ในรัฐของตน"[18]

ข้อ 41 แห่งธรรมนูญกรุงโรมยังว่า อัยการ หรือบุคคลที่กำลังถูกสืบสวนหรือฟ้องคดี จะร้องขอคัดค้านตุลาการคนใดก็ได้ "ในกรณีที่มีเหตุควรกังขาถึงความเป็นกลางของตุลาการผู้นั้น ไม่ว่าด้วยเหตุผลอันใด" [19] คำร้องขอคัดค้านมิให้ตุลาการคนใดเข้าร่วมทำคดีใด ๆ นั้น จะได้รับการวินิจฉัยโดยเสียงข้างมากเด็ดขาดของตุลาการคนอื่น ๆ ที่เหลือ[19]

อนึ่ง ตุลาการอาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้ ถ้า "ปรากฏว่าตุลาการผู้นั้นมีความประพฤติเสื่อมเสียร้ายแรง หรือละเลยหน้าที่ร้ายแรง" หรือไม่สามารถปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้[12] การจะสั่งให้ตุลาการคนใดพ้นจากตำแหน่งนั้น ต้องได้รับเสียงข้างมากสองในสามของตุลาการคนอื่น ๆ ที่เหลือ และเสียงข้างมากสองในสามของรัฐภาคีทั้งหลาย[12]

สำนักงานอัยการ[แก้]

สำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (Office of the Prosecutor of the International Criminal Court) รับผิดชอบงานสืบสวนและงานฟ้องคดี[20] มีผู้บังคับบัญชา คือ อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (Prosecutor of the International Criminal Court) โดบมีรองอัยการ (Deputy Prosecutor) สองคนคอยแบ่งเบาภาระหน้าที่ แต่ละคนดำรงตำแหน่งเก้าปี และอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว[9]

ธรรมนูญกรุงโรมกำหนดให้สำนักงานอัยการมีอิสระในการดำเนินงานของตน[21] เพราะฉะนั้น พนักงานอัยการทุกคนของสำนักงานอัยการจะไม่เสาะหาหรือรับฟังคำสั่งของผู้ใดอีก ไม่ว่าเป็นรัฐ องค์การระหว่างประเทศ องค์การระหว่างรัฐบาล หรือบุคคลใดก็ดี[20]

สำนักงานอัยการนั้นจะเริ่มสืบสวน เมื่อมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้[20]

  • เมื่อรัฐภาคีหนึ่งยื่นเรื่องราวสถานการณ์ใดมา
  • เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยื่นเรื่องราวสถานการณ์ใดมา เพื่อเตือนให้ทราบถึงภัยอันคุกคามสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
  • เมื่อองค์คณะตุลาการชั้นไต่สวนมูลฟ้องอนุญาตให้สืบสวน บนฐานแห่งข้อมูลข่าวสารที่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับมาจากแหล่งอื่น ๆ เช่น มีบุคคลหรือหน่วยงานเอกชนแจ้งมา

บุคคลใดที่กำลังถูกสืบสวนหรือฟ้องคดีจะร้องขอคัดค้านพนักงานอัยการคนใด ๆ ไม่ให้ทำคดีของตนก็ได้ ถ้า "ปรากฏว่ามีเหตุสมควรกังขาถึงความเป็นกลางของอัยการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอันใด"[21] คำร้องคัดค้านพนักงานอัยการเช่นนี้ จะได้รับการวินิจฉัยโดยแผนกอุทธรณ์ของศาล[21] พนักงานอัยการผู้ใดอาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดของรัฐภาคีทั้งหลายก็ได้ ถ้าปรากฏว่าพนักงานอัยการผู้นั้นมีความประพฤติเสื่อมเสียร้ายแรง หรือละเลยหน้าที่ร้ายแรง หรือไม่สามารถปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้[12]

สหรัฐอเมริกาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ธรรมนูญกรุงโรมไม่ได้วางระบบให้เพียงพอสำหรับคานอำนาจและตรวจสอบกันระหว่างพนักงานอัยการและตุลาการของศาลอาญาระหว่างประเทศ และยังปราศจากระบบป้องกันมิให้มีการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรือใช้อำนาจไม่โดยมิชอบประการอื่นด้วย[22] เฮนรี คิสซิงเงอร์ (Henry Kissinger) ว่า ระบบตรวจสอบและถ่วงดุลนั้นอ่อนถึงขนาดที่ในทางปฏิบัติแล้วอัยการสามารถใช้ดุลพินิจได้อย่างไม่จำกัด[23]

อัยการคนปัจจุบัน คือ ลูอีส มอเรโน โอคัมโพ (Luis Moreno Ocampo) ชาวอาร์เจนตินา ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 และดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม ปีนั้นเป็นต้นมา[24]

สำนักทะเบียน[แก้]

สำนักทะเบียนศาลอาญาระหว่างประเทศ (Registry of the International Criminal Court) รับผิดชอบงานธุรการและงานบริการของศาล[25] งานเหล่านี้รวมถึง งานให้ความช่วยเหลือทางคดี การบริหารจัดการของศาล กิจการเกี่ยวกับผู้เสียหายและพยานบุคคล งานจัดหาทนายฝ่ายจำเลย งานของหน่วยขัง และงานทั่วไปตามจำเป็นสำหรับธุรการ เช่น งานทะเบียน งานแปล งานอาคารสถานที่ งานบุคลาการ งานงบประมาณ ฯลฯ[25]

สำนักทะเบียนนั้น มีผู้บังคับบัญชา คือ นายทะเบียนศาลอาญาระหว่างประเทศ (Registrar of the International Criminal Court) ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาโดยตุลาการทั้งปวง และอยู่ในตำแหน่งคราละห้าปี นายทะเบียนคนปัจจุบัน คือ ซิลวานา อาร์เบีย (Silvana Arbia) ผู้ได้รับเลือกตั้งมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552

สถานที่ของศาล[แก้]

บัลลังก์ และกองบัญชาการ[แก้]

ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นออกนั่งบัลลังก์ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ถ้าเห็นสมควรแล้ว จะดำเนินกระบวนพิจารณาที่ใดก็ได้ทุกแห่งหน[6] กองบัญชาการของศาลก็ตั้งอยู่ที่เดียวกันโดยอาศัยความตกลงกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเรียก "ความตกลงเรื่องกองบัญชาการ ระหว่างศาลอาญาระหว่างประเทศกับรัฐเหย้า" (Headquarter Agreement between the International Criminal Court and the Host State) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2551[26] ปัจจุบัน กองบัญชาการของศาลตั้งอยู่ชั่วคราวทางด้านตะวันออกของกรุงเฮก[27] ส่วนกองบัญชาการถาวรนั้นกำลังสถาปนาขึ้นที่อเล็กซันเดอร์คาเซือร์น (Alexanderkazerne) ทางตอนเหนือของกรุงเฮก[27][28]

อนึ่ง ศาลยังมีสำนักประสานงาน (liaison office) อยู่ในกรุงนิวยอร์ก[29] และมีสำนักงานภาคสนาม (field office) ที่อื่น ๆ อีกสำหรับกิจการของศาลโดยตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2550 สืบมา ศาลมีสำนักงานภาคสนามใน เมืองคัมปาลา, คินชาซา, บูเนีย, อาเบเช และ แบนกูอี [30]

อ้างอิง[แก้]

  1.  Amnesty International (2002.04.11). "The International Criminal Court — a historic development in the fight for justice".  Unknown parameter |accessyear= ignored (help)

 

 <Previous>< Home ><Next>
 


Copyright (C)
2003 By www.fudfidforfun.com All rights reserved.